ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มโนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษา


มโนทัศน์เทคโนโลยีการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษา  คือ  คำว่า “เทคโนโลยี + การศึกษา” ซึ่ง เทคโนโลยี คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำเอาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับศิลปะในการนำเอาวิทาบาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน : 2525 )  และ การศึกษา คือ กระบวนการส่งเสริมให้บุคคลเจริญเติบโตและมีความเจริญงอกงามทางกาย  อารมณ์ สังคม และสติปัญญาจนเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณธรรมสูง
           ดังนั้นเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงหมายถึง  การประยุกต์เอา  เทคนิค  วิธีการ  แนวความคิด  วัสดุ  อุปกรณ์  และสิ่งต่างๆ  อันสืบเนื่องมาจากการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา เทคโนโลยีเหล่านั้นถึงแม้ในบางครั้งเป็นการคิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในวงการอื่นๆ โดยเฉพาก็ตามแต่สามารถนำมาใช้ในวงการศึกษาได้เช่นกัน (กิดานันท์  มลิทอง : 2543 )  อย่างเช่นการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย การสืบค้นข้อมูลการบริการทางการศึกษา  ตลอดจนการใช้ระบบโทรคมนาคมประเภทต่างๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนได้

ความสำคัญของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการช่วยให้การแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาสำเร็จลุล่วงไปได้  ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริหาร  การจัดการเรียนการสอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเรียนรู้แก่ผู้เรียนรัฐบาลในหลายประเทศจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในวงการศึกษา  และเป็นที่น่ายินดีที่รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้เช่นกัน  โดยรัฐบาลเป็นผู้จัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อประโยชน์ของการศึกษาในรูปของสื่อตัวนำและคลื่นความถี่เพื่อเผยแพร่การศึกษา  ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาทุกรูปแบบ  และมีการพัฒนาบุคคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยี  ส่งเสริมให้มีการวิจัย  การผลิต  และการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามีการะดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่พิจารณานโยบายและประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยี  ในปี พ.ศ. 2539 ประธานาธิบดีคลินตันประกาศให้มีการเชื่อมต่อห้องเรียนทุกห้องในสหรัฐอเมริกาเข้ากับทางด่วนสารสนเทศ  “ด้วยคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ชั้นดีพร้อมด้วยครูที่ได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี”  มีการประกาศจากธรรมเนียบขาวถึงจุดมุ่งหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา  4  ประการคือ
1.       ครูทุกคนในประเทศจะต้องได้รับการฝึกอบรมและสนับสนุนตามความต้องการเพื่อช่วยเหลือนักเรียนในการใช้คอมพิวเตอร์และทางด่วนสารสนเทศ
2.       ครูและนักเรียนทุกคนจะมีคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียใช้ในห้องเรียน
3.       ห้องเรียนทุกห้องจะเชื่อมต่อกับทางด่วนสารสนเทศ
4.       ซอฟแวร์ที่มีประสิทธิภาพและทรัพยากรการเรียนรู้ออนไลน์จะรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรในทุกโรงเรียน
เทคโนโลยีการศึกษานับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนในห้องเรียนและการเรียนนอกห้องเรียน  และการเรียนตามอัธยาศัย  ทำให้มีการเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนมากขึ้นสามารถที่จะทำให้ผู้เรียน เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง  และทำให้เป็นการพัฒนาศักยภาพการเรียนของตัวผู้เรียนเองอีกด้วย  ทำให้การศึกษายกระดับขีดความสามารถในการเรียนการสอนได้ดีจึงทำให้การศึกษาเกิดประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้นอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดียิ่ง

ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา



 
 
ศ.ดร.ชัยยงค์  พรหมวงศ์  ได้แบ่งขอบข่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาไว้ดังนี้
ขอบข่ายการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาประมวลออกเป็นขอบข่ายตามแนวตั้ง แนวนอน และแนวลึก  เกิดเป็นมิติขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาขึ้น  ดังแสดงในภาพที่ 1
              







ภาพที่ 1  ขอบข่ายตามแนวตั้ง แนวนอน และแนวลึก  ของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
1. ขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
       การจำแนกขอบข่ายตามแนวตั้งของการวิจัยทางเทคโนโลยี   และสื่อสารการศึกษากระทำได้หลายทางที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยทาง    เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
     ขอบข่ายตามแนวตั้งครอบคลุม  การวิจัยด้านการจัดระบบทางการศึกษา  การวิจัยด้านพฤติกรรมการเรียนการสอน  วิธีการสอนสื่อสารการศึกษา  สภาพแวดล้อมทางการศึกษา  การจัดการด้านการเรียนการสอนและการประเมินการศึกษา
          1.1 การจัดระบบ  เป็นแขนงวิชาในสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาที่อาจถือเป็นเครื่องมือสำคัญของแขนงวิชาอื่น  เพราะการดำเนินงานและการแก้ปัญหาจำเป็นต้องใช้การจัดระบบการพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบมาใช้  ขอบข่ายการวิจัยในด้านนี้จึงมุ่งที่การจัดระบบ  การพัฒนาระบบ  และการออกแบบระบบขั้นใหม่
    การจัดระบบ (Systems Approach)  เป็นการวางแผนการพัฒนาระบบใหม่หรือปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น  ด้วยการกำหนดปรัชญา ปณิธาน จุดมุ่งหมาย องค์ประกอบ ภาระหน้าที่ ความสัมพันธ์/ปฏิสัมพันธ์  ขั้นตอน  ปัจจัยเกื้อหนุนและแนวทางการประเมินและควบคุม  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานหรือแก้ปัญหาการดำเนินงาน  การจัดระบบมีความสำคัญในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีคุณภาพ  การจัดระบบมีขอบข่าย  ระดับ  และองค์ประกอบระบบที่เด่นชัดและครอบคลุมการดำเนินงานทุกแง่มุม  โดยมีขั้นตอนหลักที่ครอบคลุม  การวิเคราะห์ระบบ  การสังเคราะห์ระบบ  การสร้างแบบจำลองระบบ  และการทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง
    การพัฒนาระบบ (Systems Development)  เป็นการสร้างระบบขึ้นมาใหม่หรือเป็นการปรับปรุงระบบที่มีอยู่แล้วให้ทำงานได้ดีขึ้น  การพัฒนาระบบมีวิธีการหลายวิธี  แต่หากต้องการระบบที่มีคุณภาพจำเป็น ต้องใช้วิธีการจัดระบบเป็นเครื่องมือ
    การออกแบบระบบ (Systems Design)  เป็นขั้นตอนหนึ่งของการสังเคราะห์ระบบและการสร้างแบบจำลองระบบที่เกี่ยวข้องกับการนำองค์ประกอบมาจัดเรียงลำดับให้อยู่ในขั้นตอนที่เหมาะสม  เพื่อจะให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 พฤติกรรมการเรียนการสอน  การเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เป็นประโยชน์การวางแผนและจัดสภาพการณ์ให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมถึงเป็นเทคโนโลยีที่ท้าทาย  จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้นักจิตวิทยาเริ่มใช้  เทคโนโลยีแห่งการศึกษา (Technology of Education) ขึ้น  การวิจัยในขอบเขตนี้  มุ่งไปที่การศึกษาค้นคว้ารูปแบบพฤติกรรมการเรียน (Learning Behavior) ที่เกี่ยวกับผู้เรียนและพฤติกรรมการสอน (Teaching Behavior) ที่เกี่ยวกับครูบาอาจารย์  และการประยุกต์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแต่ละประเภทก็ต้องใช้รูปแบบการสอนที่แตกต่างกัน เช่น ครู
1.3 วิธีการ  ครอบคลุม วิธีการศึกษาโดยทั่วไปและวิธีการเรียนการสอน  วิธีการเรียนการสอน (Instructional Methods/Techniques) ประยุกต์แนวคิดและหลักการทางการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือ  สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระและประสบการณ์
การวิจัยของนักเทคโนโลยีการศึกษาในแขนงนี้จึงมุ่งไปที่การค้นหาวิธีการสอนแบบใหม่  ทั้งที่เป็นระบบการสอนแบบครบวงจรและ ที่เป็นเพียงเทคนิค  และวิธีการสอนเฉพาะเรื่อง  สำหรับนำไปใช้ในระบบการสอนที่มีผู้คิดขึ้นมาแล้ว  เช่น  วิธีการสอนแบบกลุ่ม  วิธีการสอนแบบโครงการ  วิธีการสอนแบบเบญจขันธ์  การจำลองสถานการณ์  รายกรณี ศึกษา  เกม  การพัฒนาโครงการจากกรณีงาน (PCW-Project Casework Approach)  เป็นต้น
1.4 การสื่อสาร  ครอบคลุม  การสื่อสารการศึกษาและการสื่อสารการสอน  แต่นิยมใช้คำว่า การสื่อสารการศึกษา  เพื่อแทนทั้งสองกลุ่ม 
        สื่อสารการศึกษา (Educational Media)  เป็นขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาที่รู้จักกันมากโดยเฉพาะคำว่า  อุปกรณ์การสอน  โสตทัศนูปกรณ์ ฯลฯ  สื่อการศึกษา  และสื่อการเรียนการสอนที่ถือเป็นเครื่องมือและเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบการสอน  และวิธีการสอนทุกรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นแล้ว  หรือที่จะต้องพัฒนาขึ้น  สื่อมีหลายประเภท  แต่สื่อที่ครูและนักเรียนรู้จักกันดี  คือ  กระดานแบบเรียน/ตำรา  และตัวครูเอง
       การวิจัยในขอบข่ายนี้  จึงมุ่งไปที่การพัฒนาประเภทและรูปแบบสื่อการสอนใหม่และเปรียบเทียบผลกระทบของสื่อการสอนประเภทต่างๆ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อพฤติกรรมการบริหารนักวิชาการและนักบริหาร


1.5 สภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ครอบคลุมประเภทและการจัดการ  โดยประเภทอาจจำแนกเป็น  
           สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ  และสภาพแวดล้อมทางสังคม
           สภาพแวดล้อมทางกายภาพ  ได้แก่  แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนบริเวณโรงเรียน  สนาม  อาคารเรียน  ห้องสมุด  ศูนย์วิทยบริการ  ห้องปฏิบัติการ  และห้องเรียน
           สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ  ได้แก่ บรรยากาศ ความอบอุ่นทางใจ  ความไว้วางใจ  ความกระตือรือร้น  การให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฯลฯ
           สภาพแวดล้อมทางสังคม  หมายถึง  ขนบธรรมเนียมประเพณี  กฎ  ระเบียบ  ความสัมพันธ์ที่กระทบสมาชิกในสังคม
    โดยการจัดการ  เป็นการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษา  ซึ่งเป็นการจัดภาวะที่อยู่รอบตัวผู้เรียนและผู้สอนที่อาจเป็นหรือไม่เป็นองค์ประกอบของการเรียนการสอนโดยตรง  แต่เกื้อหนุนให้เกิดการเรียนรู้หรือเป็นแหล่งการเรียนรู้
    การวิจัยในขอบข่ายนี้  จึงเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยหารูปแบบการจัดห้องเรียน  ห้องฝึกอบรม  การจัดแหล่งวิทยบริการ  ห้องสมุดหรือศูนย์วิทยบริการ  ห้องปฏิบัติการ  พิพิธภัณฑ์และอุทยาการศึกษาที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้มากที่สุด  หากไม่สามารถจัดสภาพแวดล้อมจริง  ก็ต้องจำลองสถานการณ์สภาพแวดล้อมจำลองขึ้น  เช่น  การจัดบริษัทจำลองสำหรับนักศึกษาที่เรียนด้านธุรกิจและการจัดการ  การจัดห้องฝึกบินจำลอง (Simulation)  เป็นต้น
1.6 การจัดการ  การจัดการ (Management)  ครอบคลุม  การจัดการศึกษา  และการจัดการเรียนการสอน  โดยมุ่งที่การจัดหาและใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
      โดยที่การจัดการศึกษา  เป็นหน้าที่ของผู้บริหาร  ภารกิจของนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงเน้นการเรียนการสอน (Learning Management)  เกี่ยวข้องกับการจัดทรัพยากรคน  คือ  ครูกับนักเรียน  และทรัพยากรในรูปอื่นคือ  เวลา  อาคาร  สถานที่  และสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี  และมากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด
     การวิจัยด้านการจัดการด้านการเรียนรู้จึงมุ่งที่การจัดการนำหลักสูตรมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้  หลักสูตรที่ได้พัฒนามาอย่างดี  และระบบการสอนที่มีคุณภาพ  หากขาดการจัดการที่ดีก็อาจด้อยประสิทธิภาพอย่างน่าเสียดาย
1.7 การประเมิน  การประเมินการศึกษาครอบคลุม  การประเมินที่ครบวงจร  คือ  การประเมินปัจจัยนำเข้า  การประเมินกระบวนการ  และการประเมินผล  ทั้งที่เป็นการประเมินในวงกว้าง  คือ  การประเมินการศึกษา  และในวงแคบ  คือ  การประเมินการเรียนการสอน
     การวิจัยในขอบข่ายนี้  จึงมุ่งที่จะได้รูปแบบการวัดและการประเมิน  การวิเคราะห์และแปลผลการสรุป  และการนำผลมาพยากรณ์กิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเรียนการสอน  งานวิจัยส่วนใหญ่ดำเนินการโดยนักวัดและประเมินผล

2. ขอบข่ายในแนวนอนของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ขอบข่ายในแนวนอนจำแนกเป็นด้านบริหาร  ด้านวิชาการ  และด้านบริการ
ขอบข่ายทางด้านบริหาร  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบการบริหารการกำหนดพฤติกรรมการบริหาร  วิธีการบริหาร  การสื่อสารในองค์กร  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริหาร  การจัดการ  และการประเมินการบริหาร
การวิจัยในขอบข่ายนี้  จึงมุ่งที่จะหารูปแบบการบริหารที่เหมาะสมด้วยการหาระบบใหม่  รูปแบบพฤติกรรมการบริหาร  วิธีการบริหารและจัดการ ฯลฯ  เพื่อช่วยผู้บริการให้สามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

14

 
ขอบข่ายทางด้านวิชาการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานทางวิชาการ  อาทิ  การพัฒนาหลักสูตร  การผลิตงานทางวิชาการ ฯลฯ  ในการกำหนดพฤติกรรมครูและนักเรียน     ในการกำหนดวิธีการเรียนการสอนในการสื่อสารการเรียนการสอน    การจัดสภาพแวดล้อมด้านการเรียนการสอน  การจัดการด้านการเรียนการสอน  และการประเมินการเรียนการสอน
การวิจัยในด้านนี้  จึงมุ่งในการจัดระบบหารูปแบบงานวิชาการ  เช่น  รูปแบบหลักสูตรและการสอน  การกำหนดวิธีสอน  การใช้สื่อการสอน  การจัดสภาพแวดล้อม  และการประเมินการเรียนการสอน  เป็นต้น
ขอบข่ายทางด้านบริการ  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นเครื่องมือในการจัดระบบงานบริหาร  การกำหนดพฤติกรรมการบริการ  วิธีการบริการ  การสื่อสารในการให้บริการ  การจัดสภาพแวดล้อมด้านการบริการ  การจัดการด้านการให้บริการ  และการประเมินการบริการ
การวิจัยเกี่ยวกับการบริการ  จึงมุ่งไปที่การหาข้อมูลที่จะนำมาเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ  เช่น  การจัดระบบและรูปแบบ  วิธีการ  การจัดสภาพแวดล้อม  และการประเมินการให้บริการครูและนักเรียน  ในด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  เป็นต้น




ภาพที่ 2  ขอบข่ายตามแนวนอนของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
3. ขอบข่ายในแนวลึกของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  ได้แก่  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาใน  (1) การ ศึกษาในระบบโรงเรียนซึ่งจำแนกออกตามระดับเป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในระดับปฐมวัยศึกษา  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา (2) การศึกษานอกระบบโรงเรียน  (3) การฝึกอบรม  และ (4) การศึกษาทางไกล

           


ภาพที่ 3  ขอบข่ายตามแนวลึกของการวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
          การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียน  เป็นการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาตามระดับชั้น  ได้แก่  การจัดระบบการสอนและการใช้สื่อการสอนในระดับปฐมวัยศึกษา  พฤติกรรมครูและนักเรียนประถมศึกษา  วิธีการสอนวิชาเฉพาะ ในระดับมัธยมศึกษาและจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนในระดับ อุดมศึกษา  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาเฉพาะด้าน  เช่น  อาชีวศึกษา  เกษตรศึกษา  เทคนิคศึกษา ฯลฯ  การศึกษานอกระบบโรงเรียน  มุ่งให้การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิตแก่ผู้ที่อยู่นอกระบบโรงเรียนเพราะออกจากโรงเรียนมาแล้วและมีความต้องการเพิ่มพูนความรู้ของตนให้สูงขึ้นเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยในการจัดระบบ  และถ่ายทอดเนื้อหาสาระให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีจำนวนมากกว่าสามในสี่ของประชาชนทั้งประเทศ  ทั้งนี้ยังรวมถึงการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความรู้สำคัญในการส่งเสริม (Extension)  และการเผยแพร่ (Dissemination)  ด้วยอีกขอบข่ายหนึ่ง  คือ  การใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในการศึกษาทางไกล (Distance Education) ในนัยเดียวกันกับการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียน
          การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเกี่ยวกับขอบข่ายตามแนวลึก  จึงเป็นการวิจัยที่หวังผลการวิจัยมาใช้ในสถานการณ์ที่จำเพาะเจาะจงมากกว่าการวิจัยที่อิงขอบข่ายตามแนวตั้งและแนวนอน

บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษา
บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาในการเรียนการสอนจึงมีอยู่ 4 บทบาท ดังนี้
       1. บทบาทด้านการจัดการ
       2. บทบาทด้านการพัฒนา
       3. บทบาทด้านทรัพยากร
       4. บทบาทด้านผู้เรียน
จะเห็นได้ว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีทางการศึกษา คือ การจัดระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายที่จะเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หรือกล่าวได้ว่า เป็นการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ องค์ประกอบต่างๆ ทั้งหลายนั้น ประกอบด้วย
1.การจัดการทางการศึกษา (Educational Management Functions) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมหรือกำกับการพัฒนาการศึกษา/การสอน หรือการจัดการทางการศึกษา/การสอน (การวิจัย การออกแบบ การผลิต การประเมนผล การให้ความช่วยเหลือการใช้) เพื่อเป็นหลักประกันประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประการใหญ่ ๆ คือ
    1.1 การจัดการหรือบริหารด้านหน่วยงานหรือองค์การ (Organization Management) เพื่อให้ดำเนินงานตามวิธีระบบและบรรลุวัตถุประสงค์ จะเกี่ยวข้องกับงานสำคัญ ๆ ดังนี้คือ
          1.1.1 การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบาย เกี่ยวกับบทบาท วัตถุประสงค์ การเรียนการสอน ผู้เรียน ทรัพยากรการเรียน ฯลฯ จะต้องให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน
                   1.1.2 การให้การสนับสนุน จะต้องมีการวางแผน การจัดหาข้อมูล ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการพิจารณาและตัดสินใจ และการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมินผลงานที่ดี
1.1.3 การจัดบริการที่มีประสิทธิภาพ
1.1.4 การสร้างความประสานสัมพันธ์ ให้มีการร่วมมือในการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ตลอดจนวิธีการเผยแพร่ข่าวสาร และการติดต่อสื่อสารเพื่อให้การปฏิบัติงานดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและสำเร็จตามวัตถุประสงค์
    1.2 การจัดหรือบริหารงานด้านบคคล (Personal Management) เป็นการจัดงานทางด้านการจัดบุคลากรให้เหมาะสมตามหน้าที่การงาน และความสามารถเฉพาะงาน เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพ อันได้แก่การคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานทั้งการบรรจุใหม่ หรือการว่าจ้าง การฝึกอบรมหรือพัฒนากำลังคน การนิเทศงาน การบำรุงขวัญการทำงาน สวัสดิการ และ การประเมินผลการประกอบกิจการของบุคลากร
2. การพัฒนาทางการศึกษา (Educational Development) เป็นหน้าที่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์ปัญหา การคิดค้น การปรับใช้ และการประเมินผล ข้อแก้ไขปัญหา ทรัพยาการเรียน ด้วยการวิจัย (Researci-tneory) การออกแบบ (Desing) การผลิต (Production) การประเมินผล (Evaluation) การใช้ (Utilizsiton) ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีการดำเนินการที่มีส่วนสัมพันธ์กับทรัพยากรการเรียน เช่น ในด้านการวิจัยนั้น เราก็วิจัยทรัพยากรการเรียนนั่นเอง ซึ่งก็ได้แก่การวิจัย ข่าวสารข้อมูล บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่ ดังนี้เป็นต้น นอกจากนี้ เนื่องจากว่าเทคโนโลยีการศึกษามีส่วนในการพัฒนา และเอื้ออำนวยต่อกระบวนการสอนต่าง ในระบบการสอน จึงจะต้องมีกิจกรรมที่สัมพันธ์กับการพัฒนาระบบการสอนและระบบการศึกษาด้วย
3. ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)
ทรัพยากรการเรียน ได้แก่ ทรัพยากรทุกชนิด ซึ่งผู้เรียนสามารถใช้แบบเชิงเดี่ยว หรือแบบผสม แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ทรัพยากรการเรียนรู้ ได้แก่ข้อสนเทศ/ข่าวสาร บุคคล วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค และอาคารสถานที่
4. ผู้เรียน (Learner) จุดหมายปลายทางรวมของเทคโนโลยีการศึกษาอยู่ที่ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน จึงเป็นสิ่รงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจลักษณะของผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคลของแต่ละคน อันจะทำให้เราสามารถที่จะออกแบบระบบการเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอนสนองวัตถุประสงค์การเรียนการสอน หรือสนองวัตถุประสงค์ผู้เรียน ได้ให้บรรลุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีสิ่งที่จะต้องเข้าใจในตัวผู้เรียนหลายประการ เช่น เกี่ยวกับอายุ เพศ ระดับไอคิว ประสบการณ์เดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติระดับความสามารถในการอ่าน คะแนนการทดสอบสุขภาพทางด้านการฟัง การพูดมีความบกพร่อง ทางด้านกายภาพอื่น ๆ บ้างหรือไม่ สุขภาพจิต สุขภาพทางร่างกายโดยทั่วไป ความสนใจพิเศษ งานอดิเรก ความคล่องแคล่วในภาษา ข้อมูลเกี่ยวกับสังคม สัมพันธ์ของผู้เรียน สภาพทางครอบครัวอยู่ในชนบทหรือเมือง ความเจริญก้าวหน้าของการเรียนในวิชาต่างๆ แบบวิธีการเรียน เรียนเร็วช้า ความตั้งใจ เป็นแบบเป็นแผนหรือแบบยืดหยุ่น แบบแนะแนวหรือแบบเรียนได้ด้วยตนเอง ลักษณะงานและการประกอบกิจที่เหมาะสม ความสนใจในวิชาชีพ ทักษะการอ่านภาพ และการฟังความ ฯลฯ เป็นต้น

พระราชบัญญัติของเทคโนโลยีทางการศึกษา
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดให้รัฐต้องจัดการศึกษา อบรม และสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมาย เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริมความรู้ และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัติย์เป็นประมุข   สนับสนุนการค้นคว้างานวิจัยในศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ เร่งรัดการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู  และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมชาติ ดังนั้น จึงสมควรมีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติเพื่อเป็นกฎหมายแม่บท ในการบริหารและจัดการศึกษาอบรมให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงจำเป็น  ต้องตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่  74 ก  ลงวันที่  19 สิงหาคม 2542
     การจัดการศึกษาในอนาคตนี้ จำเป็นต้องยึดแนวตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างไรก็ตามการดำเนินการจัดการศึกษาทั้งในปัจจุบันและในอนาคต คงปฏิเสธไม่ได้ถึงความจำเป็นต่อการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดำเนินการจัดการศึกษา ในการนี้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติตระหนักถึงประเด็นนี้ จึงได้นำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาบรรจุลงไป พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติอย่างเน้นหนักและชัดเจนในหมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา  ซึ่งมีเนื้อความดังนี้
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
       มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานอื่นที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมตามความจำเป็น
       มาตรา 64 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์อื่นวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นโดยเร่งรัดพัฒนาขีดความ สามารถในการผลิตจัดให้มีเงินสนับสนุนการผลิตและมีการให้แรงจูงใจแก่ผู้ผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาทั้งนี้โดยเปิดให้ มีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
      มาตรา 65  ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิต และผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการผลิต รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
     มาตรา 66 เด็กไทยมีสิทธิได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
      มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
      มาตรา 68 ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนรวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อการพัฒนาคนและสังคมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินกองทุนเพื่อการผลิตการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
      มาตรา 69 รัฐต้องจัดให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผน ส่งเสริมและประสานการวิจัย การพัฒนาและการใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
       จากเนื้อความในมาตรา 63-69  พอที่จะสรุปหน้าที่ในส่วนของครูที่จะต้องทำเพื่อให้มีความสอดคล้องกับ พรบ.การศึกษาแห่งชาติได้ดังนี้คือ
  1.ครูต้องทำการผลิต สื่อ ตำราเรียน วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและทันสมัย
  2.ครูต้องมีการพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในฐานะที่เป็นผู้ผลิตและผู้ใช้ เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3.ครูต้องมีการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีให้กับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเช่นการใช้ internet ในการค้นคว้าหาข้อมูล
  4.ครูต้องมีการรวมกลุ่มเพื่อกำหนดนโยบาย แผน การพัฒนาการใช้ และการประเมินคุณภาพ และประสิทธิภาพของการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการศึกษามากที่สุด


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษาในห้องเรียน
1.  การประยุกต์ใช้สื่อโสตทัศน์เพื่อการศึกษา  (AV)
       โสตทัศนอุปกรณ์ หมายถึง สื่อเป็นตัวกลางหรือทางผ่านของข่าวสาร ความรู้   สื่อประเภทนี้จำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ(Software)บางชนิดความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่ผู้ชมเช่น  เครื่องฉายภาพภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น
สื่อประเภทโสตทัศนอุปกรณ์ (Audio Visual  Equipment)สามารถแบ่งตามลักษณะการสื่อสารเป็น 3 จำพวก
1.1  เครื่องฉาย (Visual Projector Equipment)
              1.1.1 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ  เป็นเครื่องฉายที่จัดอยู่ในระบบฉายอ้อม ใช้สำหรับฉายภาพ วัสดุ หรือเครื่องมือที่โปร่งใส โดยเขียนข้อความหรือวาดภาพบนแผ่นโปร่งใส ซึ่งผู้สอนจะอธิบายประกอบการฉายก็ได้ สะดวกต่อการนำมาใช้
ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
1. หลอดฉาย (Projection
 2. เลนส์เฟรสนัล (Fresnel Lens)
3. แท่นวางโปร่งใส (Platen)
4. เลนส์ฉาย (Projection Lens)
5. ปุ่มปรับความชัด (Focusing Knob)
6. พัดลม (Fan)
7. สวิทซ์สำหรับเปิดปิดหลอดฉาย
8. ปุ่มสำหรับเปิดฝาเวลาเปลี่ยนหลอด
คุณสมบัติของเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ
    1. ใช้สอนได้ทุกวิชา เพราะใช้แทนกระดานชอล์กได้
    2. ห้องฉายไม่จำเป็นต้องควบคุมแสงสว่างมากนักห้องเรียนธรรมดาก็ฉายได้ผู้เรียนสามารถเห็นภาพบนจอได้ชัดเจน
    3. เครื่องฉายมีน้ำหนักเบา ใช้และบำรุงรักษาง่าย
    4. สามารถตั้งไว้หน้าชั้นหรือที่โต๊ะบรรยาย เวลาสอนหรือบรรยาย
    5. ประหยัดเวลาในการวาดรูปหรือเขียนคำอธิบาย
    6. สามารถแสดงการใช้แผ่นโปร่งใสให้เห็นเหมือนกับภาพเคลื่อนไหวได้
    7. สามารถดัดแปลงการใช้แผ่นโปร่งใสจากการฉายครั้งละแผ่น เป็นการฉายครั้งละหลาย ๆ แผ่นซ้อนกัน สามารถฉายวัสดุหรือเครื่องมือที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใสได้ หรือวัสดุทึบแสงได้
    8. สามารถใช้แสดงการทดลองหรือสาธิต โดยนำวัสดุมาวางบนเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส วางแผ่นโปร่งใสบนแท่งแม่เหล็ก โรยผงตะไบเหล็กบนแผ่นโปร่งใส แล้วเคาะแผ่นโปร่งใส ภาพของสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นบนแผ่นโปร่งใสจะปรากฏที่จอ
        1.1.2  เครื่องฉายวัสดุทึบแสง  การใช้เครื่องฉายวัสดุทึบแสงเพื่อนำเสนอภาพ เพื่อวัสดุต่างๆ ให้ปรากฏเป็นภาพที่มีขนาดใหญ่บนจอ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ถูกต้องและรวดเร็วนั้น ผู้สอนควรต้องวางแผนในการใช้เครื่องฉายนี้ให้เหมาะสมกับข้อจำกัดที่มีอยู่   จึงควรนำมาฉายในช่วงท้ายของการเรียนการสอน เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการควบคุมความมืด การระบายความร้อน การระบายอากาศ ตลอดจนความสนใจของผู้เรียน นอกจากการนำเครื่องฉายนี้มาใช้เป็นส่วน หนึ่งของการสอนแล้ว ยังสามารถนำเครื่องฉายนี้มาใช้ขยายภาพ  และเนื่องจากเครื่องฉายวัสดุทึบแสงมีหลอดฉายที่มีกำลังส่องสว่าง ถึง 1,000 วัตต์ ทำให้มีความร้อนสูงดังนั้น วัสดุที่จะนำมาฉายควรมีลักษณะคงทนต่อความร้อน ถ้าเป็นภาพทึบแสงควรผนึกเปียก และไม่ควรใช้เครื่องฉายติดต่อกันนานเกินไป

เครื่องฉายวัสดุทึบแสง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.       ฝาครอบเลนส์ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขับเลนส์    
   2. ปุ่มปรับความชัดของภาพ ทำหน้าที่ควบคุมให้เลนส์ฉายเลื่อนเข้าหาและออกห่างจากจอเพื่อให้ได้ภาพคมชัดปรากฏบนจอ
            3. แท่นวางวัสดุท้าย ซึ่งมีขนาดประมาณ 10" x 10"
            4. คันรับแท่นวางวัสดุฉาย ทำหน้าที่ยกแท่นวางวัสดุฉายให้สูงขึ้นแนบกับตัวเครื่อง จะช่วยให้ได้ภาพคมชัดทุกส่วน และสามารถปรับลงเพื่อสะดวกต่อการนำวัสดุฉายออกจากแท่น
            5. ที่หมุนแท่นวางวัสดุฉาย ทำหน้าที่เลื่อนวัสดุฉาย
            6. ปุ่มควบคุมลูกศรเพื่อชี้ส่วนต่าง ๆ ของภาพที่ปรากฎบนจอ
            7. ปุ่มบังคับระดับความสูงของขาตั้งด้านหน้า
           8. เลนส์ฉาย ทำหน้าที่ขยายภาพที่ปรากฎบนจดให้มีขนาดใหญ่
            9. สวิตซ์ปิด-เปิดพัดบมและหลอดฉาย
            10. สายไฟเอ ซี
ขั้นตอนการใช้เครื่องฉายวัสดุทึบแสง

             1. ตั้งเครื่องฉายบนโต๊ะหรือขาตั้งที่แข็งแรงและสามารถเคลื่อนย้ายได้
             2.วางวัสดุฉายบนแท่นซึ่งอยู่ด้านล่างส่วนหลังของเครื่องฉาย โดยให้หัวของวัสดุฉายหรือภาพหันเข้าหาผู้ฉาย ซึ่งผู้ฉายจะอยู่ด้านหลังของเครื่องฉาย
             3.ปรับคันบังคับแท่นวางวัสดุฉายให้แนบสนิทกับตัวเครื่องจึงจะได้ภาพชัดเจนทั่วทั้งภาพ
             4. เสียบปลั๊กไฟเอ ซี และเปิดฝาครอบเลนส์ฉาย
             5. เปิดสวิตช์พัดลมและปิดไฟภายในห้องฉายให้มืดสนิท
             6. เปิดสวิทซ์หลอดฉาย ถ้าไม่ปรากฏภาพบนจออาจเกิดจากความมืดในห้องไม่เพียงพอหรือระยะห่างจากเครื่องฉายกับจอไม่เหมาะสม ควรเลื่อนเครื่องฉายเข้าหาหรือออกห่างจนกว่าจะได้ภาพชัดเจนหรืออาจจะลืมเปิดฝาครอบเลนส์ก็ได้
             7. ปรับขยาดของภาพบนจอ ถ้าต้องการภาพขนาดใหญ่ขึ้นให้เลื่อนฉายออกห่างจอแต่ถ้าต้องการภาพขนาดเล็กลงก็เลื่อนเครื่องเข้าใกล้จอ
             8. ปรับปุ่มคุมความชัดของภาพ
             9. ปรับปุ่มควบคุมลูกศร เพื่อชี้ส่วนต่าง ๆ ของภาพ
             10. เมื่อใช้เครื่องฉายนานๆ ควรหยุดพักเครื่องสักระยะหนึ่ง เพราะความร้อนจากหลอดฉายอาจทำให้วัสดุฉายชำรุดเสียหายได้
             11. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ปิดสวิตซ์หลอดฉายทันที แต่ยังคงเปิดสวิตซ์พัดลมให้ทำงานต่อไป ในช่วงเวลานี้ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องฉายจนกว่าหลอดฉายจะเย็น จึงปิดสวิตซ์พัดลม
             12. เก็บวัสดุฉายโดยควบคุมที่หมุนแท่นวางวัสดุฉายหรือควยคุมคันปรับแท่นวางวัสดุก็ได้
         
1.1.3 เครื่องฉายภาพยนตร์
เป็นอุปกรณ์แสง-เชิงกล สำหรับการฉายภาพยนตร์ จากฟิล์ม เป็นภาพเคลื่อนไหว ให้ไปปรากฎภาพบนจอฉายภาพส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพยนตร์นั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เหมือนกับส่วนประกอบในกล้องถ่ายภาพยนตร์ เว้นแต่อุปกรณ์ให้ความสว่าง และอุปกรณ์ด้านเสียง
ส่วนประกอบของเครื่องฉายภาพยนตร์
เครื่องฉายภาพยนตร์เป็นเครื่องฉายระบบตรง ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้ 
             1. ล้อม้วนฟิล์ม (Supply Reel) และล้อเก็บฟิล์ม (Take up Reel)
             2. กลไกที่ทำให้ภาพเคลื่อนไหวบนจอ ได้แก่ เฟืองหนามเตย (Sprocket) กวัก (Intermittent) ใบพัดกั้นแสง (Shuter)
             3. มอเตอร์ (Motor) ทำให้กลไกภายในเครื่องฉายหมุน เช่น พัดลม เฟืองหนามเตย กวัก และใบพัดกั้นแสง
             4. ส่วนที่ทำให้เกิดแสง ได้แก่ แผ่นสะท้อนแสง หลอดฉาย เลนส์รวมแสง และเลนส์ฉาย
             5. ประตูฟิล์ม (Film Gate) เป็นช่องให้ฟิล์มผ่าน โดยแสงจากหลอดจะส่องผ่านฟิล์ม ผ่านเลนส์ฉายออกสู่จอ
             6. เลนส์ฉาย (Projection Lens)
ข้อดีของเครื่องฉายภาพยนต์
    1. มีทั้งแสง สี เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบดนตรี ทำให้ประทับใจและจดจำ
    2. สามารถเร่งเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี
    3. สามารถสอดแทรกความคิดเห็น และเป็นสื่อในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติพฤติกรรมได้ง่าย
    4. สามารถเสนอภาพในอดีตที่เราไม่สามารถย้อนกลับไปชมได้อีก
    5. ใช้เทคนิคสร้างเหตุการณ์ประกอบฉากการถ่ายทำได้อย่างสมจริงสมจัง
1.1.4  เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์( Computer Image Projector )
          เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์เป็นโสตทัศนอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นแม้จะมีราคาสูงแต่ประสิทธิภาพ และการใช้งานนั้นค่อนข้างสูง เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีให้เห็นกันอยู่ 2 ชนิด คือ
1. LCD panel ชนิดนี้เวลาใช้นอกจาจะต้องต่อกับคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดข้อมูลต่างๆ แล้ว ต้องอาศัยเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะเป็นตัวส่งผ่านไปยังจอรับภาพ
2. desktop projector ชนิดนี้เป็นชนิดที่รวมเครื่องฉายไว้ในตัวเวลาใช้เพียงแต่ต่อสายสัญญานภาพจากคอมพิวเตอร์ก็สามารถฉายขึ้นจอภาพในทันที ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะออกแบบให้สามารถใช้ได้ทั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นเทปวิดีทัศน์ กล้องโทรทัศน์ หรือเครื่องจับภาพ 3 มิติ ที่เรียกกันว่า Visual presenter หรือ Video Imager
ประโยชน์ของเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์
คุณค่าและประโยชน์ของเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์นั้นเหมือนกับเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ และสไลด์ แต่สำหรับเครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์นั้น คุณค่าและประโยชน์จะเน้นไปในการช่วยแก้ปัญหาในการนำเสนอข้อมูลที่ ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ซึ่งมีขนาดเล็ก ไม่สามารถให้เห็นได้พร้อมๆ กันอย่างทั่วถึง
1.2  เครื่องเสียง (Audio Equipment)
    เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยินเช่น เครื่องขยายเสียง  เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นแผ่นเสียง CD/DVD เป็นต้น
     1.3. สื่อเครื่องมือและอุปกรณ์ ประเภทอื่น ๆ
           - เครื่องมือทางการแพทย์
           - เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
           - อื่นๆ



2.  การประยุกต์ใช้สื่อไอซีทีเพื่อการศึกษา  (ICT)
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ ICT
โดยความเป็นจริงแล้ว เราใช้ ICT จัดการเรียนการสอนมานานแล้ว เพียงแต่ยังใช้รูปแบบเดิม ซึ่งหากมีการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล จะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักเรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
บทบาทของสถานศึกษาในการใช้  ICT  เพื่อจัดการเรียนรู้
บทบาทของสถานศึกษา
   1. กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันด้าน ICT
   2. จัดทำหลักสูตร/จัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพความต้องการด้าน ICT
   3. ผู้บริหารมีความมุ่งมั่น และมีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
             4. สนับสนุนครู และบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าถึงการใช้งาน ICT อย่างทั่วถึง
   5. ปรับบทบาทและวิธีการสอนของครู
สถานศึกษาที่มุ่งหวังจะนำ ICT มาใช้ในการเรียนการสอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องต่อไปนี้
   1. มีความร่วมมือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน
   2. ติดต่อกับแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงโรงเรียนเข้ากับชุมชน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
   3. จัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
             4. ขจัดปัญหาเรื่องพรมแดน สถานที่และเวลา
    5. นำศักยภาพของสื่อ ICT มาช่วยเสริมกระบวนการเรียนรู้
ความสำเร็จในการใช้ ICT ในการเรียนรู้
                        1.  ผู้เรียน : จะต้องมีทักษะพื้นฐานในการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้
                        2. หลักสูตร : จะต้องมีการสอดแทรก ICT เข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนและส่งเสริมให้เกิดการคิด วิเคราะห์ และการสร้างองค์ความรู้
                        3. ผู้สอน/ผู้บริหาร : จะต้องมีทักษะพื้นฐาน และสามารถนำ ICT ไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการ สอน
                        4. เทคโนโลยี : เลือกใช้เทคโนโลยีได้สอดคล้อง และเหมาะสมกับผู้เรียน
ดังนั้น การจะพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดจนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริม พัฒนาโครงสร้าง ICT ให้ครอบคลุมทั่วทุกภาค ทั้งเขตเมือง และชนบท รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ ICT ของประชากร ทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงาน ซึ่งจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องศึกษาและหาวิธีการที่จะกระตุ้นเพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ของการใช้ ICT
3.      การประยุกต์ใช้สื่อโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการออกอากาศ  (TV)
               "วิทยุโทรทัศน์" (television) นิยมใช้ตัวย่อว่า "ทีวี" (TV) หรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า "โทรทัศน์" หมายถึง"การส่งและรับภาพและเสียงโดยเครื่องส่งและเครื่องรับอิเล็กทรอนิกส์ออกอากาศด้วยกระแสคลื่นวิทยุที่ใช้พลังไฟฟ้าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องส่งไปยังเครื่องรับที่อยู่ห่างไกล" ถ้าวิทยุโทรทัศน์ที่ใช้ส่งและรับทางสายเคเบิลไม่ส่งออกอากาศไปไกลๆเราเรียกกันว่า"วิทยุโทรทัศน์วงจรปิด"(Closed - Circuit Television หรือเรียก ย่อ ๆ ว่า CCTV) คำว่า "Television" นี้กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้นได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์และบัญญัติเป็นภาษาไทยว่า "วิทยุโทรทัศน์"
วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
    โทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Educational Television) เป็นการใช้โทรทัศน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่า โทรทัศน์การศึกษาเป็นผลการนำรูปแบบและเทคนิคของสื่อโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ร่วมกันเพื่อธุรกิจทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาโดยรายการเหล่านี้จะมีเนื้อหาอย่างกว้างๆ เพื่อส่งเสริมข้อมูลทางการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนการสอน ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ
1. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Open-Circuit Television หรือ Broadcasting Television)   ซึ่งแบบได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ
   1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า ได้แก่ 
- ช่อง 3
- ช่อง 5
- ช่อง 7
- ช่อง 9
- ช่อง 11
   1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิล ได้แก่
- ITV Independent Television
2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Closed-Circuit Television:CCTV) เป็นการแพร่ภาพและเสียงไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ในมหาวิทยาลัย
 ประเภทของรายการโทรทัศน์  แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
      1. รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television: TV) เป็นรายการที่ให้ความบันเทิงและธุรกิจโฆษณา
      2. รายการโทรทัศน์การศึกษา (Educational Television: ETV) เป็นรายการที่ให้ความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ โดยไม่จำกัดความรู้ของผู้ชมหรือเฉพาะเจาะจงบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
       3. รายการโทรทัศน์การสอน (Instructional Television: ITV) เป็นรายการที่จัดขึ้นตามหลักสูตรทั้งในระบบ และนอกระบบโรงเรียน เพื่อเสนอบทเรียนแก่ผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
บทบาทของวิทยุโทรทัศน์ทางการศึกษา
1 การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน
ใช้เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดสื่ออื่น เช่น บันทึกวีดิทัศน์จากภาพยนตร์ สไลด์ รูปภาพ หรือสื่อเสียงอื่นๆ เข้าด้วยกัน ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน รวบรวมเป็นสื่อไว้ในแหล่งความรู้ เช่น ในห้องสมุดเพื่อบริการให้ผู้ต้องการใช้และศึกษาด้วยตนเอง ใช้ในระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ ใช้การผสมผสานระหว่างสื่อทางไกลประเภทต่างๆ และการผลิตรายการโทรทัศน์ ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมไทยคม ไปยังโรงเรียนต่างๆ ในสังกัด ซึ่งมีการแนะแนวการศึกษา อาชีพ วิชากฎหมาย รายวิชาเสริมความรู้ และรายการข่าวสารคดี เพลงและรายการภาพยนตร์ เป็นต้น
2 การใช้วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษานอกระบบโรงเรียน (Informal Education)
เป็นการใช้รายการโทรทัศน์ให้ความรู้และอาชีพแก่ผู้ชมรายการที่อยู่ในที่ต่างๆ โดยไม่มีการกำหนดเป็นนักเรียนหรือชั้นเรียน การใช้วิทยุโทรทัศน์ในลักษณะนี้จะไม่มีหลักสูตรตายตัว และไม่มีใบรับรองคุณวุฒิเหมือนเช่นการศึกษาในระบบ เช่น รายการทางการศึกษาที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆ ถือเป็นการให้การศึกษานอกระบบ
3 การศึกษาตามอัธยาศัย (Non Formal Education)
เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลความรู้และทักษะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วไปโดยที่จะไม่มีหลักสูตรชัดเจนเหมือนสองประเภทแรก แต่จะกำหนดเนื้อหาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาปัจจุบัน และสามารถเน้นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ ผู้ใช้แรงงานกลุ่มสตรี กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชนและกลุ่มเกษตรกร เป็นต้น
ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา
ข้อดี
                    1.สามารถใช้ในสภาพที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัด
                    2.เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้
                    3.เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์
4.สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจน 
ข้อจำกัด
                    1.โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้
                   2.อาจเกิดอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย
                   3.จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตรายการที่มีคุณภาพได้

สรุป
การใช้เทคโนโลยีในการสอนเป็นการใช้กระบวนการทักษะต่างที่กล่าวมาข้างต้น ครูผู้สอนความคำนึงถึงหลักการใช้ให้เหมาะสมกับอายุเพศของเด็กตามสมควร ซึ่งในในเนื้อหาในการใช้สื่อคือ  AV (Audio visual)คือการใช้โสตทัศน์ต่างๆ ในการเรียนการสอน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ICT (Information Communication And Technology) คือข้อมูลสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูล นำไปใช้ในการเรียนการสอนเพื่อความถูกต้องแม่นยำในการจัดเก็บข้อมูล TV (television) คือ วิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ใช้การถ่ายความรู้ จากแหล่งเดียวไปสู่ในที่ห่างไกล สามารถใช้ได้ทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ในการใช้เทคโนโลยีต้องคำนึงความถูกต้องฉะนั้นจึงมีพระราชบัญญัติบังคับใช้ออกมาอยู่ในหมวดที่ 9 ตั้งแต่มาตราที่63-69 เพื่อให้ทุกคนเคารพกฎกติกาในการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาได้อย่างทุกต้อง

           









                   


บรรณานุกรม









บรรณานุกรม
กิดานันท์  มลิทอง.  เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์,                    
             2543.
ชัยยังค์  พรหมวงศ์.  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 6.  นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัย       
             ธรรมมาธิราช,2553
ณัฐพฤกษ์ วิชัยดิษฐ์.  บทบาทเทคโนโลยีทางการศึกษา. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :   
             http://www.gotoknow.org/blogs/posts/140925(วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 สิงหาคม 2555)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา(2).  [ออนไลน์].   
             เข้าถึงได้จาก : http://www.kroobannok.com/5072.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 1 สิงหาคม  
             2555)
ระบบการฉาย. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :  http://www.edu.nu.ac.th/wbi/355201/p77-6.html 
             (วันที่ค้นข้อมูล :1 สิงหาคม 2555).
 อะไรคือICT.[ออนไลน์] ;   เข้าถึงได้จาก : http : / /www.thaigoodview.com/
             library/ict/main/what_ict.html. (วันที่ค้นข้อมูล :1 สิงหาคม 2555)
ICTเพื่อการเรียนรู้. [ออนไลน์] ;   เข้าถึงได้จาก : http : / /www.damrong.ac.th/krunom/
             STUDENTSHOW/ICT/data3.html. (วันที่ค้นข้อมูล :1 สิงหาคม 2555)
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา. [ออนไลน์] ;   เข้าถึงได้จาก : http : / / 0503306.multiply.com/journal/item/
            6?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem. (วันที่ค้นข้อมูล :1 สิงหาคม 2555)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น